มาตรการป้องกันโควิด-19
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนแข่งขัน
1. นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ
- ก่อนเดินทางเข้ามายังประเทศไทยจะต้องขอใบรับรองการเข้าประเทศ (Certificate of entry) หรือ COE โดยแต่ละคนจะต้องลงทะเบียนและกรอกข้อมูลกับสถานฑูตไทยในประเทศ นั้น ๆ ซึ่งสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะส่งหนังสือเชิญเข้าร่วมการแข่งขันไปยังทุกทีม พร้อมด้วยรายละเอียดของโรงแรมที่พักระหว่างการแข่งขัน
- จะต้องทำ RT-liCR test เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างน้อย 72 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางจากประเทศต้นทาง รวมถึงต้องเตรียมเอกสารอื่น ๆ ที่ต้องยื่นประกอบกับสายการบินตามข้อกำหนดของแต่ละสายการบิน
- ต้องทำประกันภัยโควิด-19 ในวงเงิน 100,000 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,100,000 บาท ต่อคน ซึ่งสมาคมกีฬาจักรยาน แห่งประเทศไทยฯ ได้ประสานงานกับ บริษัท ประกันภัยในประเทศ เพื่อสะดวกในการเข้ารับการรักษากรณีเกิดตรวจพบเชื้อ ในการนี้สมาคมกีฬาจักรยาน แห่งประเทศไทยฯ พิจารณาให้ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด เป็นผู้ดำเนินการทำ ประกันให้นักกีฬาและเจ้าหน้าที่เหล่านั้น สามารถทำประกันผ่านโดยตรงกับ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด และผ่านระบบออนไลน์ก่อนเดินทางมาประเทศไทย
- ต้องกำหนดระยะเวลาการเดินทางเผื่อเอาไว้สำหรับการเข้ารับการกักตัว 14 วัน (16 วัน 15 คืน) และการเดินทาง ไปยังจังหวัดสงขลา ด้วยรถยนต์ รวมไปถึงวันที่จะต้องเข้าประชุมผู้จัดการทีมก่อนที่จะมีการแข่งขัน 1 วัน
ประเภททีมชาย
นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ต้องเดินทางมาถึงประเทศไทยก่อนวันที่ 13 มีนาคม 2564
ประเภททีมหญิง
นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ต้องเดินทางมาถึงประเทศไทยก่อนวันที่ 20 มีนาคม 2564
- ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Thailand Plus ที่ทางราชการกำหนด สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทย ตามคำสั่ง ศบค. ที่ 8 /2563
2. ขั้นตอนเมื่อถึงประเทศไทย และการกักตัวใน ASQ
สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นใจจากทุกภาคส่วนว่านักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมต่างชาติทุกคน ที่เดินทางเข้ามาในเมืองไทยเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันจักรยานทางไกลนานาชาติ “ทัวร์ ออฟ ไทยแลนด์” จะต้องเข้ารับการกักตัวตามมาตรการของ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เป็นระยะเวลา 14 วัน (16 วัน 15 คืน) ในโรงแรมที่เข้าร่วมเป็นสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือก Alternative State Quarantine (ASQ) ซึ่งสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯได้เลือกใช้บริการโรงแรมรอยัลรัตนโกสินทร์ ที่ได้ประสานงานร่วมกับ โรงพยาบาลปิยะเวท โดยมีขั้นตอนที่โรงแรมรัตนโกสินทร์กำหนดไว้ ดังนี้
- โรงแรมดำเนินการรับผู้เข้าพักจากสนามบินด้วยรถที่มีมาตรฐาน ทั้งรถตู้ที่มีการกั้นระหว่างคนขับกับผู้โดยสาร และมีการทำรายละเอียดของรถว่าแต่ละคันมีท่านใดเดินทางร่วมบ้าง รวมถึงรถบัสโดยสารมีการทำผังที่นั่ง มีสัญลักษณ์แสดงตำแหน่งห้ามนั่งชัดเจน เพื่อเว้นระยะห่าง และตรวจโดยกล้องวงจรปิดตลอดการเดินทาง
- เมื่อผู้เข้าพักเพื่อกักตัวเดินทางมาถึงโรงแรม จะให้เข้าโรงแรมทางด้านข้างซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะ ASQ มีการเปลี่ยนรองเท้า ซึ่งทางโรงแรมจัดเตรียมไว้ให้
- ผู้เข้าพักเช็คอินในพื้นที่เช็คอินพิเศษที่ทางโรงแรม จัดเตรียมไว้ให้โดยเฉพาะ (ไม่รวมกับบริเวณเช็คอินตามปกติ)
- เจ้าหน้าที่ชี้แจงข้อมูล, ระเบียบการเข้าพัก และแอดกลุ่มไลน์ที่ทางโรงแรมสร้างไว้ สำหรับประสานงาน แจ้งอุณภูมิร่างกายประจำวัน และสอบถามอาการกับทางโรงพยาบาล
- ผู้เข้ากักตัวเข้าห้องพักที่จองไว้ และกรอกเอกสารข้อมูลสุขภาพทางออนไลน์ เพื่อลงทะเบียนกับทางโรงพยาบาล
- มีการตรวจสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพห้องก่อนการเข้าพักทุกครั้ง เพื่อไม่เกิดปัญหาในการเข้าพักเพื่อลด ความเสี่ยงในการเข้าไปแก้ไข
- มีการตรวจ RT-PCR test ด้วยการทำ Swab เป็นการหาเชื้อจากการป้ายเอาเยื่อบุในคอ หรือเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูก มาตรวจ ในวันที่ 3 และวันที่ 12 ของการกักตัว
- หากมีการพบเชื้อ ทางโรงพยาบาลปิยะเวท จะประสานกับผู้เข้าพักเพื่อส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาล และทางโรงพยาบาลจะรายงานไปยัง สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) และทำการสอบสวนโรค
- หากไม่มีการพบเชื้อผู้กักตัวสามารถนัดเวลาเพื่อลงมาใช้พื้นที่ผ่อนคลายอิริยาบถ (Relax) รอบสระว่ายน้ำได้ โดยมีการเว้นระยะห่าง และมีเจ้าหน้าที่โรงแรมไปรับ-ส่งผู้กักตัวจากห้องพักและดูแลพื้นที่ตลอดเวลา
- ระหว่างการกักตัว สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะจัดลูกกลิ้ง หรือสมาร์ทเทรนเนอร์ ให้นักกีฬาฝึกซ้อม อยู่ภายในห้องพัก โดยไม่มีการซ้อมร่วมกันอย่างเด็ดขาด
- หลังจากครบระยะเวลาการกักตัว 14 วันเต็ม (16 วัน 15 คืน) ผู้เข้ารับการกักตัว จะสามารถออกจากโรงแรมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น.
- ผู้ที่ผ่านการกักตัว 14 วันตามมาตรการแล้ว ในระหว่างการแข่งขันจะต้องตรวจวัดอุณหภูมิตัวเอง วันละ 2 ครั้ง ในเวลา 06.00 น. และ 18.00 น. และให้สังเกตอาการของตัวเอง พร้อมทั้งลงบันทึกในแบบฟอร์มที่สมาคมกีฬาจักรยานฯ จัดทำเอาไว้ แล้วส่งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด เก็บรวบรวมข้อมูลทุกวัน
3. นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ในประเทศไทยที่ร่วมการแข่งขันฯ
- ทีมอาชีพ ทีมชาย (“ไทยแลนด์ คอนติเนนตัล ไซคลิง ทีม” และ ทีมชาติไทย) และทีมหญิง (“ไทยแลนด์ วีเมนส์ ไซคลิง ทีม”, ทีมชาติไทย และทีมสโมสรของไทย) สำหรับผู้ที่จะเดินทางออกนอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 5 จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรสาคร , ระยอง , ชลบุรี , จันทบุรี , ตราด จะต้องดำเนินการขอเอกสาร แล้วยื่นแบบ คำขอเอกสารรับรองความจำเป็นฯ ต่อ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ หรือ ข้าราชการที่ นายอำเภอมอบหมาย ปลัด อปท. หรือ ปลัด อปท.มอบหมาย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ ดังนี้
- เอกสารรับรองความจำเป็นในการเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
- แบบคำขอเอกสารรับรองความจำเป็นในการเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
- จะต้องตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธีการ Rapid Test หรือ PCR test (ภายใน 72 ชั่วโมง ก่อนการแข่งขัน ) และขอเอกสารรับรองการตรวจเชื้อโควิด -19 จะต้องมีผลเป็น ลบ ( Negative หรือ Not Detected )
มาตรการในการเดินทางไปจังหวัดที่ร่วมจัดการแข่งขัน
จังหวัดสงขลา
ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid – 19 ) สำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าจังหวัดสงขลา จะต้องปฏิบัติตามมาตรการตามที่จังหวัดกำหนดโดยมี นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา / ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา , ซึ่งสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะขอความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา , สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 ประสานในการปฏิบัติเพื่อควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
จังหวัดพัทลุง
ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid – 19 ) สำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าจังหวัดพัทลุง จะต้องปฏิบัติตามมาตรการตามที่จังหวัดกำหนดโดยมี่ นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง / ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพัทลุง ซึ่งสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะขอความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง , สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 ประสานในการปฏิบัติเพื่อควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid – 19 ) สำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าจังหวัดนครศรีธรรมราช จะต้องปฏิบัติตามมาตรการตามที่จังหวัดกำหนดโดยมี นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช / ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ซึ่งสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะขอความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานเขตสุขภาพที่ 11 ประสานในการปฏิบัติเพื่อควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
จังหวัดตรัง
ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) สำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าจังหวัดตรัง จะต้องปฏิบัติตามมาตรการตามที่จังหวัดกำหนดโดยมี นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง/ ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตรัง ซึ่งสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะขอความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง , สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 ประสานในการปฏิบัติเพื่อควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
จังหวัดสตูล
ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) สำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าจังหวัดสตูล จะต้องปฏิบัติตามมาตรการ ตามที่จังหวัดกำหนดโดยมี นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล/ ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสตูล ซึ่งสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะขอความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล , สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 ประสานในการปฏิบัติเพื่อควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
จังหวัดปัตตานี
ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid – 19 ) สำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าจังหวัดปัตตานี จะต้องปฏิบัติตามมาตรการตามที่จังหวัดกำหนดโดยมี นายราชิต สุดพุ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี/ ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี ซึ่งสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะขอความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี , สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 ประสานในการปฏิบัติเพื่อควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
มาตรการสำหรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ที่เดินทางมาจากต่างประเทศกักตัวครบ 14 วัน
ทีมชาย
- เมื่อนักกีฬาต่างชาติออกจากโรงแรม รอยัลรัตนโกสินทร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ทำการกักตัวครบกำหนด 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม - 4 เมษายน 2564 ทางสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะจัดรถบัสขนส่งนักกีฬาและ เจ้าหน้าที่ ไปยังโรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา โดยใช้ระยะเวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง
- สำหรับรถบัสปรับอากาศ เพื่อรองรับนักกีฬาที่เดินทางมายังจังหวัดสงขลา ทางสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะมีการทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อบนรถบัสที่ทำการ ขนส่งนักกีฬาในวันที่ 4 เมษายน 2564 จำนวน 6 คัน 48 ที่นั่ง และจะมีการเว้นระยะห่างที่นั่งบนรถบัสปรับอากาศ คือ ในรถบัสจะมีจำนวนคนที่นั่ง 24 คน และมีการทำสัญลักษณ์แสดงตำแหน่งห้ามนั่งชัดเจน
- เมื่อนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ถึงที่พักโรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา ต้องปฏิบัติตามมาตรการหลัก 5 ข้อ ในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไวรัส-19 ของ ศบค. ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย, ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์, รักษาระยะห่าง, หลีกเลี่ยงการสัมผัส, ไม่รวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก
- ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Thailand Plus ที่ราชการกำหนด สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทย ตามคำสั่ง ศบค. ที่ 8 /2563
- สำหรับทีมชาย (“ไทยแลนด์ คอนติเนนตัล ไซคลิง ทีม”, ทีมชาติไทย) จะต้องตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธีการ Rapid Test หรือ PCR test (ภายใน 72 ชั่วโมง ก่อนการแข่งขัน ) และขอเอกสารรับรองการตรวจเชื้อโควิด -19 จะต้องมีผลเป็น ลบ (Negative หรือ Not Detected ) และเดินทางไปพร้อมกับนักกีฬาต่างชาติสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ ได้กำหนดสถานที่พักสำหรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่
ทีมหญิง
- เมื่อนักกีฬาต่างชาติออกจากโรงแรม รอยัลรัตนโกสินทร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ทำการกักตัวครบกำหนด 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม - 04 เมษายน 2564 ทางสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะจัดรถบัสขนส่งนักกีฬาและ เจ้าหน้าที่ เดินทางไปยังโรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา โดยใช้ระยะเวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง
- สำหรับรถบัสปรับอากาศ เพื่อรองรับนักกีฬาที่เดินทางมายังจังหวัดสงขลา ทางสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะมีการทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อบนรถบัสที่ทำการขนส่งนักกีฬาในวันที่ 04 เมษายน 2564 จำนวน 6 คัน 48 ที่นั่ง และจะมีการเว้นระยะห่างที่นั่งบนรถบัสปรับอากาศ คือ ในรถบัสจะมีจำนวนคนที่นั่ง 24 คน และมีการทำสัญลักษณ์แสดงตำแหน่งห้ามนั่งชัดเจน
- เมื่อนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ถึงที่พักโรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา ต้องปฏิบัติตามมาตรการหลัก 5 ข้อ ในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไวรัส-19 ของ ศบค. ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย, ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์, รักษาระยะห่าง, หลีกเลี่ยงการสัมผัส, ไม่รวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก
- ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Thailand Plus ที่ทางราชการกำหนด สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทย ตามคำสั่ง ศบค. ที่ 8 /2563
- สำหรับทีมหญิง (“ไทยแลนด์ วีเมนส์ ไซคลิง ทีม”, ทีมชาติไทย และทีมสโมสรของไทย) จะต้องตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธีการ Rapid Test หรือ PCR test (ภายใน 72 ชั่วโมง ก่อนการแข่งขัน ) และขอเอกสารรับรองการตรวจเชื้อโควิด -19 จะต้องมีผลเป็น ลบ ( Negative หรือ Not Detected ) และ เดินทางไปพร้อมกับนักกีฬาต่างชาติ
นักกีฬาทีมชาย ก่อนเริ่มการแข่งขัน
วันที่ 29 - 31 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา
ระหว่างแข่งขัน
- วันที่ 1 - 2 เมษายน 2564 ณ โรงแรมชัยคณาธานี และโรงแรมสิทธินาถ แกรนด์วิว จังหวัดพัทลุง
- วันที่ 3 - 4 เมษายน 2564 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จังหวัดตรัง
- วันที่ 5 เมษายน 2564 ณ โรงแรมสินเกียรติบุรี และโรงแรมสินเกียรติธานี จังหวัด สตูล
- วันที่ 6 เมษายน 2564 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา
นักกีฬาทีมหญิง ก่อนเริ่มการแข่งขัน
- วันที่ 5 - 7 เมษายน 2564 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา
ระหว่างแข่งขัน
- วันที่ 8 เมษายน 2564 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี จังหวัดปัตตานี
- วันที่ 9 เมษายน 2564 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา
- วันที่ 10 เมษายน 2564 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา
สถานที่พักของเจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขันฯ
- วันที่ 29 - 31 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา
- วันที่ 1 - 2 เมษายน 2564 ณ โรงแรมเดอะเซ็นทริส จังหวัดพัทลุง
- วันที่ 3 - 4 เมษายน 2564 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จังหวัดตรัง
- วันที่ 5 เมษายน 2564 ณ โรงแรมสตูลธานี และ เดอะวันบูติค จังหวัดสตูล
- วันที่ 6 – 7 ,9 – 11 เมษายน 2564 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา
- วันที่ 8 เมษายน 2564 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี จังหวัดปัตตานี
หมายเหตุ
ในกรณีที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดที่ร่วมจัดการแข่งขัน สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะพิจารณาปรับเปลี่ยนเส้นทางการแข่งขันตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ณ เวลานั้น
ทีมชาย
- เมื่อนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ถึงที่พัก ต้องปฏิบัติตามมาตรการหลัก 5 ข้อ ในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไวรัส-19 ของ ศบค. ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย, ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์, รักษาระยะห่าง, หลีกเลี่ยงการสัมผัส, ไม่รวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก
- จะต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น “หมอชนะ” เพื่อบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยี GPS และ Bluetooth ร่วมกับการสแกน QR Code “ไทยชนะ” เพื่อให้บันทึกการเดินทางของผู้ใช้งานแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น
- ทางโรงแรมจะมีการตรวจวัดอุณหภูมิและกระเป๋า เดินทางทุกใบจะได้รับการฆ่าเชื้อทำความสะอาดก่อนนำเข้าสู่ห้องพัก
- ทางโรงแรมจัดเจ้าหน้าที่ และเพิ่มความถี่ในการเช็คทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณ จุดสัมผัสสาธารณะ อาทิ เคาน์เตอร์ให้บริการ ปุ่มกดลิฟท์ ที่จับบันได ที่จับประตูห้องน้ำ ราวบันไดเลื่อน, ก๊อกน้ำ ที่จับประตู อาคารทุกจุด พื้นที่ทั่วโรงแรม อย่างน้อย วันละ 3 ครั้ง (เช้า เที่ยง เย็น และเพิ่มความถี่ในช่วงที่มี ผู้ใช้บริการจำนวนมาก)
- การรับประทานอาหาร ทางโรงแรมจะต้องมีการวัดอุณหภูมิ มีการล้างมือด้วยเจล แอลกอฮอล์ 70 % และต้องสวมหน้ากากอนามัย ก่อนเข้าห้องอาหารทุกครั้ง
อาหารเช้า โดยกำหนดเวลา เวลา 06.00-09.00 น.
อาหารเย็น โดยกำหนดเวลา เวลา 18.00-20.00 น.
และจัดที่นั่งรับประทานอาหาร เว้นระยะห่าง (Social distancing) เพื่อลดความแออัดและการสัมผัส - สถานที่ประชุมผู้จัดการทีมที่โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา
การจัดพื้นที่- ทางสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะมีการวัดอุณหภูมิ, เจลแอลกอฮอล์ 70 % และต้องสวมหน้ากากอนามัย ก่อน – หลังเข้าประชุมทุกครั้ง โดยการประชุมจะจัดขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม 2564 เวลา 15.00 น. โดยประชุมเฉพาะผู้จัดการทีมและกรรมการผู้ติดสิน ไม่เกิน 30 คน
- มีการจัดพื้นที่ (โต๊ะ,เก้าอี้) เว้นระยะห่าง ระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 เมตร (Social distancing) เพื่อลดความแออัดและการสัมผัส
- ระหว่างการฝึกซ้อมที่ จังหวัดสงขลา
- การฝึกซ้อมก่อนแข่งขันวันที่ 29-31 มีนาคม 2564 ทางสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะจัดพื้นที่ปิดเพื่อให้นักกีฬาลงฝึกซ้อม โดยมีเจ้าหน้าที่ควบคุมอย่างใกล้ชิด ไม่ให้ออกซ้อมนอกพื้นที่
- ในการฝึกซ้อมในแต่ละวัน ทางสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะทำตารางเวลาการซ้อมให้กับทีมต่างๆ เพื่อลดการแออัดในการฝึกซ้อม
ทีมหญิง
- เมื่อนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ถึงที่พัก ต้องปฏิบัติตามมาตรการหลัก 5 ข้อ ในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไวรัส-19 ของ ศบค. ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย, ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์, รักษาระยะห่าง, หลีกเลี่ยงการสัมผัส, ไม่รวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก
- จะต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น “หมอชนะ” เพื่อบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยี GPS และ Bluetooth ร่วมกับการสแกน QR Code “ไทยชนะ” เพื่อให้บันทึกการเดินทางของผู้ใช้งานแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น
- ทางโรงแรมจะต้องประสาน 3 ฝ่าย ระหว่าง สาธารณสุขจังหวัด , กรมควบคุมโรค และสำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 เพื่อดำเนินการตรวจวัดอุณหภูมิและกระเป๋าเดินทางทุกใบจะได้รับการฆ่าเชื้อทำความสะอาดก่อนนำเข้าสู่ห้องพัก
- ทางโรงแรมจัดเจ้าหน้าที่ และเพิ่มความถี่ในการเช็คทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณ จุดสัมผัสสาธารณะ อาทิ เคาน์เตอร์ให้บริการ ปุ่มกดลิฟท์ ที่จับบันได ที่จับประตูห้องน้ำ ราวบันไดเลื่อน, ก๊อกน้ำ ที่จับประตู อาคารทุกจุด พื้นที่ทั่วโรงแรม อย่างน้อย วันละ 3 ครั้ง (เช้า เที่ยง เย็น และเพิ่มความถี่ในช่วง ที่มี ผู้ใช้บริการจำนวนมาก)
- การรับประทานอาหาร ทางโรงแรมจะต้องมีการวัดอุณหภูมิ มีการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ 70 % และต้อง สวมหน้ากากอนามัย ก่อนเข้าห้องอาหารทุกครั้ง
อาหารเช้า โดยกำหนดเวลา เวลา 06.00-09.00 น.
อาหารเย็น โดยกำหนดเวลา เวลา 18.00-20.00 น.
และจัดที่นั่งรับประทานอาหาร เว้นระยะห่าง (Social distancing) เพื่อลดความแออัดและการสัมผัส - สถานที่ประชุมผู้จัดการทีมที่โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลา
การจัดพื้นที่- ทางสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะมีการวัดอุณหภูมิ เจลแอลกอฮอล์ 70 % และต้องสวมหน้ากากอนามัย ก่อน – หลังเข้าประชุมทุกครั้ง โดยการประชุมจะจัดขึ้นในวันที่ 07 เมษายน 2564 เวลา 15.00 น. โดยประชุมเฉพาะผู้จัดการทีมและกรรมการผู้ติดสิน ไม่เกิน 30 คน
- มีการจัดพื้นที่ (โต๊ะ,เก้าอี้) เว้นระยะห่าง ระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 เมตร เพื่อลดความแอดอัดและการสัมผัส
- ระหว่างการฝึกซ้อมที่ จังหวัดสงขลา
- การฝึกซ้อมก่อนแข่งขันวันที่ 5 – 7 เมษายน 2564 ทางสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะจัดพื้นที่ปิดเพื่อให้นักกีฬาลงฝึกซ้อม โดยมีเจ้าหน้าที่ควบคุมอย่างใกล้ชิด ไม่ให้ออกซ้อมนอกพื้นที่
- ในการฝึกซ้อมในแต่ละวัน ทางสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะทำตารางเวลาการซ้อมให้กับทีมต่างๆ เพื่อลดการแออัดในการฝึกซ้อม
การเตรียมความพร้อมในการให้บริการในการเฝ้าระวัง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
มาตรการคัดกรองอาการป่วย ณ สถานที่พัก
- จัดให้มีระบบคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจอาการไข้ ไอ จามมีน้ำมูก หอบเหนื่อย เป็นหวัด เจ็บคอ สำหรับนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการแข่งขัน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทุกคน ในโรงแรมที่พักวันละ 2 ครั้ง เช้าเวลา 06.00 น. และเย็นเวลา 18.00 น. ทั้งนี้ ควรมีอุณหภูมิในร่างกายไม่เกิน 37.5 องศา และไม่มีอาการระบบทางเดินหายใจ กรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคให้มีแนวทางปฏิบัติในการดูแล หรือแนวทางส่งต่อผู้ที่มีอาการป่วยที่เหมาะสม พร้อมรายงานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทราบทันที
- จัดให้มีบริการเจลแอลกอฮอล์ 70% ล้างมือก่อนเข้าและออกจากสนามแข่งขัน เวลโลโดรม หัวหมาก รวมทั้งห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ในปริมาณเพียงพอต่อจำนวนนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และบุคลากรในการดำเนินการจัดการแข่งขัน
- นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันโรคส่วนบุคคล เช่น หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า หรือ Face Shield สวมใส่ตลอดเวลา
- จัดให้มีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ในโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ท โฟนของ แต่ละคนเพื่อบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยี GPS และ Bluetooth ร่วมกับการสแกน QR Code “ไทยชนะ” ทำให้บันทึกการเดินทางของผู้ใช้งานแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กรมควบคุมโรค และบุคลากรทางการแพทย์สอบสวนโรคได้อย่างรวดเร็ว โดย “หมอชนะ” จะแจ้งไปยังกลุ่มผู้ใช้งานที่มีประวัติสัมผัสหรือเข้าใกล้กับผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
มาตรการคัดกรองอาการป่วย ณ สถานที่จัดการแข่งขัน (ระบบปิด แบบไม่มีผู้ชม )
- จัดให้มีระบบคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจอาการไข้ ไอ จามมีน้ำมูก หอบเหนื่อย เป็นหวัด เจ็บคอ สำหรับนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการแข่งขัน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทุกคน ที่เข้าสนามการแข่งขัน ซึ่งเป็นระบบปิด แบบไม่มีผู้ชม ทั้งนี้ ควรมีอุณหภูมิในร่างกายไม่เกิน 37.5 องศา และไม่มีอาการระบบทางเดินหายใจ กรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคให้มีแนวทางปฏิบัติในการดูแล หรือแนวทางส่งต่อผู้ที่มีอาการป่วยที่เหมาะสม พร้อมรายงานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทราบทันที
- จัดให้มีบริการเจลแอลกอฮอล์ 70% ล้างมือก่อนเข้าและออกจากสนามแข่งขัน รวมทั้งห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ในปริมาณเพียงพอต่อจำนวนนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และบุคลากรในการดำเนินการจัดการแข่งขัน
- นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันโรคส่วนบุคคล เช่น หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า หรือ Face Shield สวมใส่ตลอดเวลา
- จัดการแข่งขันแบบปิด มีการเข้า-ออกทางเดียว ไม่อนุญาตให้มีผู้ชมการแข่งขัน ตลอดจนบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขันเข้าในบริเวณสถานที่จัดการแข่งขัน
- จัดให้มีการลงทะเบียนด้วยการสแกน QR Code ก่อนเข้าและออก จากสนามแข่งขันผ่านแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ที่ทางราชการกำหนด ด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน เพื่อประโยชน์ต่อการติดตามกรณีพบผู้ป่วยและผู้สัมผัสที่มาใช้บริการในสถานที่
- จัดให้มีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ในโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ท โฟนของ แต่ละคนเพื่อบันทึกข้อมูล การเดินทางของผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยี GPS และ Bluetooth ร่วมกับการสแกน QR Code “ไทยชนะ” ทำให้บันทึกการเดินทางของผู้ใช้งานแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กรมควบคุมโรค และบุคลากรทางการแพทย์สอบสวนโรคได้อย่างรวดเร็ว โดย “หมอชนะ” จะแจ้งไปยังกลุ่มผู้ใช้งานที่มีประวัติสัมผัสหรือเข้าใกล้กับผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
- จัดให้มีแบบฟอร์มบันทึกข้อมูล ชื่อ - นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ เวลาเข้าออกจากสนามแข่งขันกรณีผู้ใช้บริการไม่ได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนติดตัวมา เพื่อประโยชน์ต่อการติดตามกรณีพบผู้ปวยและผู้สัมผัสที่มาใช้บริการในสถานที่
- กำหนดผู้ร่วมพิธีไม่เกิน 50 คน เป็นไปตามมาตรการศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ประกอบด้วย 1. สวมหน้ากากอนามัย 2. เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ 3. เว้นระยะห่าง 4. หลีกเลี่ยงการสัมผัส 5. จำกัดจำนวนคน
มาตรการในการป้องกันโรค ณ สถานที่ในการจัดพิธีเปิดการแข่งขันในแต่ละวัน
- จัดให้มีระบบคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจอาการไข้ ไอ จามมีน้ำมูก หอบเหนื่อย เป็นหวัด เจ็บคอ สำหรับนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการแข่งขัน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทุกคน ที่เข้าสนามการแข่งขัน ซึ่งเป็นระบบปิด แบบไม่มีผู้ชม ทั้งนี้ ควรมีอุณหภูมิในร่างกายไม่เกิน 37.5 องศา และไม่มีอาการระบบทางเดินหายใจ กรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคให้มีแนวทางปฏิบัติในการดูแล หรือแนวทางส่งต่อผู้ที่มีอาการป่วยที่เหมาะสม พร้อมรายงานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทราบทันที
- จัดให้มีบริการเจลแอลกอฮอล์ 70% ล้างมือก่อนเข้าและออกจากสนามแข่งขันรวมทั้งห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ในปริมาณเพียงพอต่อจำนวนนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และบุคลากรในการดำเนินการจัดการแข่งขันลดการใกล้ชิดระหว่างนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการแข่งขัน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน รวมทั้งให้ไม่มีการสัมผัสอุปกรณ์การแข่งขันร่วมกัน
- ควบคุมให้นักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการแข่งขัน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทุกคนในสนามแข่งขันต้องสวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลา ลดการพูดคุยที่ไม่จำเป็น ไม่เปิดหรือจับหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า โดยรักษาระยะห่างกัน อย่างน้อย 2 เมตร
- จำกัดจำนวนผู้ใช้ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ไม่ให้มีความแออัด มีรถสุขาเคลื่อนที่ให้บริการตามจำนวนนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่
- ไม่มีการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในสถานที่จัดการแข่งขัน ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด หรือมีการจัดอาหารเครื่องดื่มให้แก่ผู้ใช้บริการเฉพาะบุคคล เพื่อไม่ให้มีการแออัดในการรับประทานอาหารร่วมกัน
- ไม่อนุญาตให้ประชาชนเข้าชมการแข่งขัน โดยจะให้ชมผ่านการถ่ายทอดสดของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส / เฟซบุ๊ก Thai PBS และ Youtube Thai Pbs
- สมาคมกีฬาจักรยานฯ จะจัดเตรียมเก้าอี้ ให้นักกีฬา สำหรับนั่งรอเซ็นชื่อรายงานตัวโดยเว้นระยะห่าง จำนวน 1 เมตร ต่อเก้าอี้ 1 ตัว
- เมื่อถึงเวลาในการรายงานตัวของนักกีฬา สมาคมกีฬาจักรยานฯ จะเรียกนักกีฬาแต่ละทีม เดินขึ้นมาบนเวที โดยมีสัญลักษณ์รูปเท้า เว้นระยะห่าง และจัดเตรียมปากกาให้นักกีฬาใช้เซ็นบนแผ่น อะคลีลิครายงานตัว เมื่อเซ็นชื่อรายงานตัวเสร็จ จะทิ้งปากกา ในถังขยะทันที ไม่มีการนำกลับมาใช้ซ้ำ และต้องล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ที่จัดเตรียมไว้ให้ ทั้งก่อนและหลังการเซ็นชื่อ
- บริเวณจุดปล่อยตัวนักกีฬา สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะดำเนินการจัดระยะห่างให้นักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันฯ เพื่อลดการสัมผัส พร้อมมีเจ้าหน้าที่ถือถุงพลาสติกเพื่อทำการเก็บหน้ากากอนามัย เมื่อได้เวลาประธานในพิธี ให้สัญญาณปล่อยตัว
มาตรการในการป้องกันโรค ณ บริเวณพื้นที่มอบรางวัลแบบ New Normal ในแต่ละวัน
- จัดให้มีระบบคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจอาการไข้ ไอ จามมีน้ำมูก หอบเหนื่อย เป็นหวัด เจ็บคอ สำหรับนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการแข่งขัน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทุกคน ที่เข้าสนามการแข่งขัน ซึ่งเป็นระบบปิด แบบไม่มีผู้ชม ทั้งนี้ ควรมีอุณหภูมิในร่างกายไม่เกิน 37.5 องศา และไม่มีอาการระบบทางเดินหายใจ กรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคให้มีแนวทางปฏิบัติในการดูแล หรือแนวทางส่งต่อผู้ที่มีอาการป่วยที่เหมาะสม พร้อมรายงานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทราบทันที
- จัดให้มีบริการเจลแอลกอฮอล์ 70% ล้างมือก่อนเข้าและออกจากสนามแข่งขัน รวมทั้งห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ในปริมาณเพียงพอต่อจำนวนนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และบุคลากรในการดำเนินการจัดการแข่งขันลดการใกล้ชิดระหว่างนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการแข่งขัน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน รวมทั้งให้ไม่มีการสัมผัสอุปกรณ์การแข่งขันร่วมกัน
- ควบคุมให้นักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการแข่งขัน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทุกคนในสนามแข่งขันต้องสวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลา ลดการ พูดคุยที่ไม่จำเป็น ไม่เปิดหรือจับหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า โดยรักษาระยะห่างกัน อย่างน้อย 2 เมตร จัดให้มีการลงทะเบียนด้วยการสแกน QR Code ก่อนเข้าและออก จากสนามแข่งขันผ่านแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ที่ทางราชการกำหนด ด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน เพื่อประโยชน์ต่อการติดตามกรณีพบผู้ป่วยและผู้สัมผัสที่มาใช้บริการใน สถานที่
- จัดให้มีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ในโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนของ แต่ละคนเพื่อบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยี GPS และ Bluetooth ร่วมกับการสแกน QR Code “ไทยชนะ” ทำให้บันทึกการเดินทางของ ผู้ใช้งานแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กรมควบคุมโรค และบุคลากรทางการแพทย์สอบสวนโรคได้อย่างรวดเร็ว โดย “หมอชนะ” จะแจ้งไปยังกลุ่มผู้ใช้งานที่มีประวัติสัมผัสหรือเข้าใกล้กับผู้ติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ถึงวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
- จัดให้มีแบบฟอร์มบันทึกข้อมูล ชื่อ - นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ เวลาเข้าออกจากสนามแข่งขัน กรณีผู้ใช้บริการไม่ได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนติดตัวมา เพื่อประโยชน์ต่อการติดตามกรณีพบผู้ปวยและผู้สัมผัสที่มาใช้บริการในสถานที่
- จำกัดจำนวนผู้ใช้ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ไม่ให้มีความแออัด มีรถสุขาเคลื่อนที่ให้บริการตามจำนวนนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่
- ไม่มีการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในสถานที่จัดการแข่งขัน ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด หรือมีการจัดอาหารเครื่องดื่มให้แก่ผู้ใช้บริการเฉพาะบุคคล เพื่อไม่ให้มีการแออัดในการรับประทานอาหารร่วมกัน
- ไม่อนุญาตให้ประชาชนเข้าชมการแข่งขัน โดยจะให้ชมผ่านการถ่ายทอดสดของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส / เฟซบุ๊ก Thai PBS และ Youtube Thai Pbs
- พิธีมอบรางวัลให้กับนักกีฬาในแต่ละวัน สำหรับการมอบรางวัลให้นักกีฬา จะให้นักกีฬาเป็นผู้หยิบเสื้อแชมป์ ช่อดอกไม้ บนแท่นรับรางวัลที่สมาคมจัดเตรียมไว้ให้ พร้อมทั้งจะแนะนำให้นักกีฬาจากต่างประเทศใช้ “การไหว้” แทนการจับมือแสดงความยินดี และไม่มีการเปิดแชมเปญ โดยยึดตามหลักมาตรการเว้นระยะห่าง และหลีกเลี่ยงการสัมผัส
- กำหนดผู้ร่วมพิธีไม่เกิน 50 คน เป็นไปตามมาตรการศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ประกอบด้วย 1. สวมหน้ากากอนามัย 2. เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ 3. เว้นระยะห่าง 4. หลีกเลี่ยงการสัมผัส 5. จำกัดจำนวนคน
- ผู้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัล จะต้องทำการเช็คเอ้าส์ ออกจากสนามแข่งขันทุกครั้ง
- จัดให้มีระบบตรวจสอบภายในสนามแข่งขัน รวมทั้งจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของสนามแข่งขันตรวจตราดูแลความปลอดภัย กำกับควบคุมการให้บริการและการใช้บริการในสนามแข่งขัน ให้เป็นไปตามมาตรการการควบคุมหลักอย่างเคร่งครัด
- จัดให้มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ และแนะนำแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน ควบคุมโรค ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้ง มีการอบรมเรื่องมาตรการป้องกันควบคุมโรคและความรู้ในการสังเกตอาการป่วยของตนเอง เพื่อให้นักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการแข่งขัน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
- ควบคุมการแสดงอาการดีใจของนักกีฬาระหว่างการแข่งขันที่เป็นการสัมผัสกัน หรือ ผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เช่น ไม่ควรแสดงความดีใจด้วยการกอดกัน และส่งเสียง โดยให้เว้นระยะห่างในการแสดงความดีใจ
- กรณีพบผู้ใช้บริการไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค เช่น ไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า หรือมีอาการป่วยจากการคัดกรองก่อนเข้าสนามแข่งขัน งดให้เข้าในสถานที่จัดการแข่งขันโดยเด็ดขาด
- ในระหว่างการแข่งขันไปยังจังหวัดต่าง ๆ จะมีเจ้าหน้าที่จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ติดตามขบวนไปตลอดเส้นทาง โดยจะปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดที่เป็นเส้นทางผ่าน เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ และให้คำแนะนำ นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทุกคน ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
- สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ งดจัดงานเลี้ยงฉลองชัยให้แก่นักกีฬาหลังจบการแข่งขัน ทั้งประเภททีมชายและทีมหญิง เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัส และลดความแออัด
- เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขัน นักกีฬาทีมต่างชาติในสเตจสุดท้าย จะต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ก่อนเดินทางออกจากประเทศไทย โดยนักกีฬาทีมชาย กำหนดตรวจหาเชื้อในวันที่ 6 เมษายน 2564 ส่วนนักกีฬาทีมหญิง กำหนดตรวจหาเชื้อในวันที่ 10 เมษายน 2564 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นสถานที่พักของนักกีฬา
มาตรการการรักษาความสะอาดสถานที่จัดแข่งขันและโรงแรมที่พัก
- พนักงานทำความสะอาดของโรงแรมที่พักและเจ้าหน้าที่ควบคุมสนามแข่งขัน ทุกคนต้องสวมเครื่องป้องกันอันตราย ส่วนบุคคล ได้แก่ หมวกคลุมผม หน้ากากอนามัย ถุงมือยาง ผ้ายางกันเปื้อน รองเท้าพื้นยางหุ้มแข็ง ขณะทำความสะอาด พร้อมทั้งอุปกรณ์เช่น ให้ใช้ที่คีบขยะ จัดเตรียมถุงขยะ และรวมขยะที่จุดรวม
- เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ในการแข่งขันที่มีโอกาสสัมผัสร่วมกันบ่อย ๆ ด้วยแอลกอฮอล์ 70% ทั้งก่อนและหลังการใช้งานอยู่เสมอ
- เช็ดทำความสะอาดพื้นบริเวณพื้นผิวสัมผัสในสถานที่จัดการแข่งขันและพื้นที่จุดสัมผัสร่วม โดยเน้นจุดที่เสี่ยงที่มี ผู้สัมผัสมากให้ทำความสะอาดบ่อยครั้ง เช่น ราวจับ ราวบันได อ่างล้างมือ โต๊ะ ห้องสุขา ที่จับสายชำระ โถปัสสาวะ ลูกบิด กลอนประตู ก๊อกน้ำ ด้วยน้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือแอลกอฮอล์ 70% ทุก 1 ชั่วโมง
- จัดให้มีจุดวางถังขยะชนิดมีฝาปิดเพื่อรวบรวมขยะ ต่าง ๆ โดยคัดแยกขยะ ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอันตราย และขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย และมัดปากถุงให้แน่นก่อนส่งกำจัดตามหลักสุขาภิบาลทุกวัน
แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากร นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ในการเข้าร่วมการแข่งขัน
การเตรียมตัวก่อนการแข่งขันฯ
- หากนักกีฬา เจ้าหน้าที่ บุคลากรที่เข้าร่วมการจัดการแข่งขันมีอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือ เป็นหวัด ให้งดเข้าร่วมการแข่งขันทันที
- นักกีฬา เจ้าหน้าที่ บุคลากรทุกคน ต้องไม่ปิดบังข้อมูลส่วนตัว เช่น โรคประจำตัว การเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 การสัมผัสใกล้ชิดบุคคลที่ ติดเชื้อ
- นักกีฬา เจ้าหน้าที่ บุคลากร หรือผู้ใช้บริการทุกคนต้องผ่านการคัดกรองโรคไวรัสโควิด-19 ก่อนการแข่งขัน และนักกีฬาที่เดินทางมาจากต่างประเทศต้องผ่านมาตรการคัดกรองหรือการกักตัวตามระเบียบของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
- นักกีฬา เจ้าหน้าที่ บุคลากร ที่เข้าร่วมการจัดการแข่งขัน ต้องสวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ในสนามแข่งขัน และพื้นที่จัดกิจกรรม
- นักกีฬา เจ้าหน้าที่ บุคลากรทุกคน ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ในโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน เพื่อใช้ในการแสกน QR Code ก่อนเข้า-ออกสนามแข่งขันตามที่ทางราชการกำหนด
- นักกีฬา เจ้าหน้าที่ บุคลากรทุกคน ต้องดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ในโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน เพื่อบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งาน และใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”
แนวทางปฏิบัติในระหว่างก่อนและหลังการแข่งขัน
- ลงทะเบียนเข้า-ออกจากสถานที่จัดการแข่งขัน โดยใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด “ไทยชนะ” สแกน QR Code บริเวณหน้าสถานที่ รวมทั้งสแกน QR Code ก่อนออกจากสถานที่ด้วย และต้องบันทึกข้อมูลรวมทั้งประวัติตามความเป็นจริง ลงในแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ควบคู่กันไปด้วย
- ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่ผู้จัดการแข่งขันกำหนดอย่างเคร่งครัด เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าสนามแข่งขัน ให้ข้อมูลประวัติการ เจ็บป่วย และประวัติการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงของตนเอง พร้อมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ
- ตรวจสอบความสะอาด ความปลอดภัยของสนามแข่งขัน และอุปกรณ์การแข่งขัน เพื่อให้ใช้บริการได้อย่างปลอดภัย
- นักกีฬา เจ้าหน้าที่ บุคลากร หรือผู้ใช้บริการในสนาม ทุกคน ต้องมีการเว้นระยะห่างกันประมาณ 2 เมตร ทั้งในระหว่างแข่งขัน และระหว่างพักด้วย
- นักกีฬา เจ้าหน้าที่ บุคลากร หรือผู้ใช้บริการในสนามแข่งขันทุกคนควรหมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเสมอ
- ผู้ใช้บริการในสนามแข่งขันทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เว้นเฉพาะนักกีฬาในช่วงเวลาที่นักกีฬากำลังลงทำการแข่งขัน
- ผู้ใช้บริการในสนามแข่งขันทุกคนควรพูดโดยใช้ระดับเสียงปกติ และลดการใช้เสียงดังขณะทำกิจกรรม และเลี่ยงไอ จาม ใกล้ผู้อื่น
- งดแสดงอาการดีใจระหว่างการแข่งขันที่เป็นการสัมผัสกันระหว่างนักกีฬา เช่น งดแสดงความดีใจด้วยการกอดกัน โดยให้เว้นระยะห่างในการแสดงความดีใจ
- ไม่บ้วนน้ำลาย หรือเสมหะ ขณะทำการแข่งขัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น
- ผู้ใช้บริการควรแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ หากพบว่าการให้บริการไม่เป็นไปตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค ให้ดำเนินการประเมินการให้บริการในแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ที่ลงทะเบียน ตามแนวทางประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล และ กระทรวงสาธารณสุข
ในกรณีที่ใช้พื้นที่ของแต่ละจังหวัดที่เป็นเส้นทางแข่งขัน
- สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จะได้ประสานกับจังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาด และจะดำเนินการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัดเจ้าของพื้นที่ ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ประกอบด้วย
- นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา
ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา - นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพัทลุง - นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อ - นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา
ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตรัง - นายเอกรัฐ หลีเส็น
ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล
ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสตูล - นายราชิต สุดพุ่ม
ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี
ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี
- นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา